ใบขับขี่ มีกี่ประเภท ? ข้อมูลเกี่ยวกับใบอนุญาตขับขี่ประเภทต่าง ๆ
ใบขับขี่ หรือ ใบอนุญาตขับขี่ คือเอกสารที่ กรมการขนส่งทางบก ออกให้กับบุคคลเพื่อแสดงว่ามีคุณสมบัติสามารถขับขี่รถสัญจรบนท้องถนนได้ ซึ่งนอกใบขับขี่ที่คนทั่วไปคุ้นเคย อย่าง ใบขับขี่รถยนต์ หรือ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ยังมีอีกหลายชนิด และมีหลักเกณฑ์การใช้หรืออายุการใช้งาน เวลาต่อใบขับขี่ แตกต่างกันด้วย
สำหรับผู้ขับขี่ทุกคน ก่อนที่จะสามารถนำรถมาใช้บนท้องถนน สิ่งหนึ่งที่จะต้องมีและเตรียมให้พร้อมก็คือ ใบขับขี่ หรือ ใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งสำหรับคนทั่วไปก็จะคุ้นเคยกับ ใบขับขี่รถยนต์ หรือ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์
ความจริงแล้วใบขับขี่ที่ กรมการขนส่งทางบก ออกให้นั้นยังมีอีกหลายแบบตามลักษณะของรถหรือยานพาหนะ และมีหลักเกณฑ์การใช้หรืออายุการใช้งาน เวลา ต่อใบขับขี่ แตกต่างกันด้วย และนี่คือข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับประเภทหรือชนิดของใบขับขี่แบบต่าง ๆ
สำหรับใบอนุญาตขับขี่นั้นจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ประกอบไปด้วย
1. ประเภท ส่วนบุคคล (บ.)
ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล จะใช้สำหรับรถในการขนส่งส่วนบุคคล รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ตัวเลข และตัวอักษรสีดำ
2. ประเภท ทุกประเภท (ท.)
ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท จะใช้สำหรับรถสาธารณะ รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง ซึ่งใบอนุญาตขับรถประเภททุกประเภทนั้น สามารถใช้ทดแทน ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล และใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้
ชนิดของใบขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
1. ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว
คือ ใบขับขี่สำหรับคนไปทำครั้งแรก ซึ่งจะแยกย่อยออกไป 3 ประเภท คือ ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว มีอายุ 2 ปี, ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว อายุ 2 ปี และใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว อายุ 2 ปี โดยผู้ขอรับใบขับขี่จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และทุกประเภทจะมีค่าธรรมเนียม 100 บาท
อายุ 1 ปี / ค่าธรรมเนียม 100 บาท
2. ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล
ใบขับขี่ชนิดนี้ เป็นแบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยที่สุดเพราะเป็นใบอนุญาตสำหรับการขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลนั่นเอง โดยจะได้มาหลังจากการใช้ใบขับขี่ชั่วคราวมาครบ 1 ปี ซึ่งใบขับขี่แบบนี้ก็จะมีอายุใช้ได้ยาว ๆ 5 ปี
อายุ 5 ปี / ค่าธรรมเนียม 500 บาท
3. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนใบขับขี่รถยนต์สามล้อจากชนิดชั่วคราว ไปเป็นชนิด 5 ปี หรือต้องการต่ออายุใบขับขี่รถสามล้อส่วนบุคคล ซึ่งใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลจะมีอายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 250 บาท
อายุ 5 ปี / ค่าธรรมเนียม 250 บาท
4. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ
ใบขับขี่ชนิดนี้ออกให้สำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพขับรถยนต์ขนส่งสาธารณะ หรือรถแท็กซี่ โดยต้องได้รับใบขับขี่ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว โดยต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์
อายุ 3 ปี / ค่าธรรมเนียม 300 บาท
5. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ
คือ ใบขับขี่ของผู้ที่ต้องการทำอาชีพขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ หรือที่คนไทยเรียกติดปากกันว่า รถตุ๊กตุ๊ก โดยจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือแบบตลอดชีพ และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์
อายุ 3 ปี / ค่าธรรมเนียม 150 บาท
6. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
เป็นใบขับขี่อีกหนึ่งชนิดที่น่าจะเป็นที่คุ้นเคยสำหรับหลาย ๆ คน โดยผู้ที่ต้องการเปลี่ยนใบขับขี่รถจักรยานยนต์จากชนิดชั่วคราว ไปเป็นชนิด 5 ปี หรือต้องการต่ออายุใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
อายุ 5 ปี / ค่าธรรมเนียม 250 บาท
7. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
ใบขับขี่สำหรับผู้ที่ต้องการทำอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือวินมอเตอร์ไซค์ โดยต้องได้รับใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว โดยต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณจะมีอายุ 3 ปี ค่าธรรมเนียม 150 บาท
อายุ 3 ปี / ค่าธรรมเนียม 150 บาท
8. ใบอนุญาตขับรถบดถนน
สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถบดถนน ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรดังนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยทางหลวง และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก), การขับรถอย่างปลอดภัย และ มารยาทในการขับรถ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
อายุ 5 ปี / ค่าธรรมเนียม 250 บาท
9. ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์
สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์เพื่อใช้งานในเกษตรกรรม ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์จะมีอายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 250 บาท
อายุ 5 ปี / ค่าธรรมเนียม 250 บาท
10. ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น
ใบขับขี่ชนิดนี้ก็คือใบอนุญาตสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาในข้อ 1 ถึง ข้อ 9 โดยจะมีอายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 100 บาท
11. ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี หรือ ใบขับขี่สากล
สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันติดปากว่าใบขับขี่สากล โดยผู้ที่สามารถทำใบขับขี่สากลได้ จะมีอายุเท่าไรก็ได้ แต่ที่สำคัญจะต้องมีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ชนิด 5 ปี หรือตลอดชีพแล้ว จึงจะสามารถยื่นขอทำใบขับขี่สากลได้ โดยใบขับขี่สากลจะมีอายุ 1 ปี ค่าธรรมเนียม 500 บาท
อายุ 1 ปี / ค่าธรรมเนียม 500 บาท
ขอบคุณข้อมูลจาก sldriveschool.com, dlt.go.th
แบตหมด แบตเสื่อม เปลี่ยนแบตเตอรี่ เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ ต้องแบตเตอรี่ JTK. 786 สาขา3อ่อนนุช #แบตเตอรี่หมดแบตเตอรี่เสื่อม โทร 086-9051871 LINE:ID 0869051871 ส่งถึงหน้าบ้านพร้อมเปลี่ยนให้ฟรี ก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่มีบริการสำรองไฟทุกครั้งก่อนเปลี่ยน พร้อมเช็คไดชาร์จ เช็คไฟรั่ว ให้ฟรีครับ #แบตถูก แบตราคาถูก แบตเตอรี่ถูก แบตเตอรี่ราคาถูก #แบตเตอรี่คุณภาพราคาถูก
#เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์อ่อนนุช#ร้านแบตเตอรี่รถยนต์อ่อนนุช65 #ร้านแบตเตอรี่รถยนต์อ่อนนุช30 #ร้านแบตเตอรี่รถยนต์อ่อนนุช44 #ร้านแบตเตอรี่รถยนต์อ่อนนุช46 #ร้านแบตเตอรี่รถยนต์อ่อนนุช17 #ร้านแบตเตอรี่รถยนต์อ่อนนุช60#เปลี่ยนแบตถนนพระราม9 #เปลี่ยนแบตถนนอ่อนนุช17 #เปลียนแบตซอยอนามัย #แบตเตอรี่พัฒนาการ #เปลี่ยนแบตคลองตัน #เปลี่ยนแบตถนนเพชรบุรี แบตราคาถูก #เปลี่ยนแบตรถยนต์อ่อนนุช #เปลี่ยนแบตเตอรี่พัฒนาการ โทร0869051871 ไลน์ ID:0869051871 #เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์นอกสถานที่ www.battery786.com
สัญญาณบอกเหตุ แบตเตอรี่ ใกล้หมดสภาพ ต้องเปลี่ยน
เป็นอย่างที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า “แบตเตอรี่” ถือเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการสตาร์ทเครื่องยนต์เพื่อใช้ในการเดินทางไปไหนมาไหน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมันจะมีอายุการใช้งาน 1.5 – 3 ปี ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน แต่แทนที่จะรอให้เครื่องยนต์น๊อคหมดสภาพแล้วค่อยเปลี่ยน ยีเอส มีวิธีสังเกตอาการที่บ่งบอกถึงสัญญาณเตือนก่อนที่แบตจะหมด ดังนี้
1. เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ จะรู้สึกว่าเครื่องไม่ค่อยมีกำลัง สตาร์ทติดยากกว่าที่เคยเป็น
2. หลังจากจอดรถดับเครื่องแล้วทิ้งไว้สักครู่ หรือดับเครื่องเสร็จแล้วสตาร์ทใหม่ทันที รถจะสตาร์ทติดยาก ต้องพยายามสตาร์ทหลายๆ ครั้งถึงจะติด
3. ไฟส่องสว่างด้านหน้ารถยนต์ไม่ส่องสว่างเท่าเดิม
4. ระบบล็อคประตู และการทำงานของกระจกไฟฟ้าช้าลงกว่าปกติ อืดๆ ไม่เร็วเหมือนเดิม
5. แบตเตอรี่แบบเปียก น้ำกลั่นหมดเร็วกว่าเดิม ต้องเติมถี่ และบ่อยขึ้น
6. ถึงขั้นต้องพ่วงแบตฯ เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ในการสตาร์ทรถยนต์ เพราะสตาร์ทรถไม่ติดเลย
สุดท้าย ผู้ขับขี่เองก็ต้องหมั่นเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย และเมื่อไหร่ที่เกิดอาการเหล่านี้ขึ้น จะได้รู้ว่า นีเป็น 6 สัญญาณเตือนให้คุณเตรียมตัวเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้เลย
ที่มา https://bit.ly/2pwrCUl